หน่วยบริหารนวัตกรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Research Innovation Management Unit SDU

 ไส้กรอกไก่เสริมอัลเบโดจากเปลือกส้มโอ

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปเนื้อสัตว์มีราคาที่สูงมากขึ้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต ผู้ผลิตจึงได้มีการนำเนื้อไก่ที่ได้จากการเลาะโครงกระดูกซึ่งมีลักษณะเป็นชิ้นเล็กมาใช้เพื่อเพิ่มลงไปในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ  ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ประเภทอิมัลชัน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคโดยอาหารที่แพร่หลายในประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักจะอุดมไปด้วยพลังงาน ไขมัน และน้ำตาลซึ่งมีมากเกิน และยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาในด้านสุขภาพ ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งเกิดจากการขาดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตประเภทเส้นใยอาหาร   ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้มีการเพิ่มระดับปริมาณของเส้นใยอาหารในอาหารประจำวันมากยิ่งขึ้น อัลเบโดเป็นส่วนประกอบที่มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อสีขาวที่ได้จากเซลลูโลสของผลไม้ตระกูลส้ม เป็นแหล่งของใยอาหารที่มีศักยภาพ  อัลเบโดนั้นไม่เพียงแต่ให้คุณค่าทางโภชนาการแต่ยังมีความสำคัญต่อการทำงานและเทคโนโลยีทางอาหารด้วย และในอีกมุมหนึ่งการใช้เส้นใยจากอัลเบโดนี้ได้สามารถใช้ในการปรับปรุงพัฒนาผลผลิตของอาหาร ลดค่าใช้จ่ายของวัตถุดิบ และเพิ่มพื้นผิวในผลิตภัณฑ์อาหารอีกด้วย และยังมีความเหมาะสมในการใช้งานกับผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อสัตว์

 บทสรุปเทคโนโลยี

ไส้กรอกไก่เสริมอัลเบโดจากเปลือกส้มโอ ทั้งแบบสดและแบบแห้งในระดับที่เหมาะสมจะทำให้ระบบจำลองของอิมัลชันจากเนื้อไก่เลาะโครงที่นำมาทำไส้กรอกไก่มีเนื้อสัมผัสที่ดี

จุดเด่นของเทคโนโลยี

ไส้กรอกไก่เสริมอัลเบโดจากเปลือกส้มโอ เป็นการเติมอัลเบโดจากเปลือก
ส้มโอทั้งแบบสดและแบบแห้งในระดับที่เหมาะสมจะทำให้ระบบจำลองของอิมัลชันจากเนื้อไก่เลาะโครงมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ซึ่งทำให้ลักษณะเนื้อสัมผัสโดยรวมของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ประเภทอิมัลชัน ซึ่งได้แก่ ไส้กรอกไก่มีเนื้อสัมผัสที่ดี  นอกจากนั้นใยอาหาร จากอัลเบโดที่ได้จากเปลือกส้มโอทั้งชนิดสดและชนิดอบแห้ง ยังทำให้คุณค่าทางอาหารของผลิตภัณฑ์ไส้กรอกไก่ดีขึ้นอีกด้วย เพราะอัลเบโดจากเปลือกส้มโอเป็นแหล่งของ
ใยอาหารที่สำคัญ อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายของวัตถุดิบ และเพิ่มพื้นผิวในผลิตภัณฑ์อาหาร

สถานภาพเบื้องต้น

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิเพื่อการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์

 

สนใจสอบถามข้อมูล

หน่วยบริหารงานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

295 ถ.นครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท์ : 02-244-5285    

โทรสาร  : 02-244-5286

e-mail: raudusit@gmail.com

http://raudusit.ac.th

https://www.facebook.com/raudusit

Scroll to Top