หน่วยบริหารนวัตกรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Research Innovation Management Unit SDU

 สบู่เหลวที่มีส่วนประกอบสารสกัดทองพันชั่ง

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

การผลิตสบู่โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของไขมันหรือน้ำมัน ทั้งจากสัตว์และจากพืชหลากหลายชนิด สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตสบู่ได้ กรดไขมันนี้จะรวมตัวกับสารอื่น ซึ่งแต่ละชนิดก็จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป   อีกทั้งยังมีสารประกอบอื่นๆ ที่เป็นตัวทำให้สบู่นั้นมีประสิทธิภาพในการชำระล้างได้ดี การนำพืชสมุนไพรมาเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสบู่นั้นจะทำให้และสิทธิภาพในการชำระล้างและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทองพันชั่ง เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่
ใบทองพันชั่งสามารถใช้รักษากลากเกลื้อน ผื่นคัน โรคไขข้ออักเสบ โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูงรักษาผมร่วง ปวดฝีแก้พิษงู ถอนพิษ โรคพยาธิวงแหวนตามผิวหนัง รักษาโรค รักษารากผม รังแค กำจัดเหา รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้แก้ปวดหัวตัวร้อน รักษาโรคมะเร็ง และวัณโรค สารสกัดทองพันชั่งในการยับยั้งเชื้อราชนิด Trichophyton rubrum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกลาก มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส cytomegalovirus และสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบได้

 บทสรุปเทคโนโลยี

สบู่เหลวที่มีส่วนประกอบสารสกัดทองพันชั่ง ประกอบด้วย น้ำสะอาด,
เตตระโซเดียม อีดีทีเอ, ไกลเซอรีน, น้ำว่านหางจระเข้, สารสกัดทองพันชั่ง, ดีเอ็มดีเอ็ม ไฮแดนโตอิน, โซเดียม ลอเรธซัลเฟท์, โคคามิโดโพรพิล เบเตน์, โคคาไมด์ ไดเอธาโนลามีน, โซเดียมคลอไรด์, น้ำหอม, กรดแลคติค ที่ผ่านกรรมวิธีขั้นตอนต่างๆ ที่ทำให้ได้เป็นสบู่เหลวที่มีส่วนผสมของสารสกัดทองพันชั่ง

 จุดเด่นของเทคโนโลยี

สบู่เหลวที่มีส่วนประกอบสารสกัดทองพันชั่งมีสรรพคุณทางยา สารสกัดทองพันชั่งมีสารสำคัญกลุ่มไรนาแคนทิน (Rhinacanthin) ลูพีออล (lupeol) และ
แอมเบลลิเฟอโรน (ambelliferone) ช่วยในการรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน ทั้งนี้ยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย เป็นการเพิ่มมูลค่าของสมุนไพร จากฤทธิ์ของสารสกัดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและนำสารสกัดมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสบู่เหลว


สถานภาพเบื้องต้น

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิเพื่อการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์

 

สนใจสอบถามข้อมูล
หน่วยบริหารงานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

295 ถ.นครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท์ : 02-244-5285    

โทรสาร  : 02-244-5286

e-mail: raudusit@gmail.com

http://raudusit.ac.th

https://www.facebook.com/raudusit

Scroll to Top